1.อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่คลอบคลุมพื้นที่ป่าหลายประเภทมีความสูงตั้งแต่ 300 - 2565 เมตร จากระดับน้ำทะเล นกบนดอยอินทนนท์ที่มีการสำรวจพบประมาณ 384 ชนิดการดูนกบนดอยสามารถมาดูได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดอยู่ระหว่าง เดือนพฤศจิกายน ถึง พฤษภาคม เนื่องมีนกอพยพเข้ามาสมทบอีกมากมาย
สามารถพบนกที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น นกพญาไฟพันธุ์เหนือ (Long-tailed Minivet) นกปีกแพรสีม่วง (Purple Cochoa) นกหางรำดำ (Black-headed Sibia) นกกินปลีหางยาวเขียว (Green-tailed Sunbird) นกศิวะหางสีน้ำตาล (Chestnut-tailed Minia)การเดินทาง
ตามทางหลวงหมายเลขเชียงใหม่-จอมทอง ตรงหลักกิโลเมตรที่ 57 ก่อนถึงอำเภอจอมทอง 1 ก.ม. มีทางแยกขวามือไปตามทางหลวงหมายเลข 1009 ระยะทาง 48 ก.ม. ติดสอบถามข้อมูลดูนกได้ที่ร้านลุงแดง เยื้องที่ทำการอุทยาน ก.ม. ที่ 31 อยู่ทางซ้ายมือ อุทยานอยู่ขวามือ บ้านพักและจุดกางเต้นท์ติดต่อได้ที่ทำการอุทยาน
2.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
สภาพป่าเบญจพรรณในพื้นล่างมี มีป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ ป่าสนผสมป่าเต็งรัง และ ป่าดิบเขา มีหน่วยพิทักษ์ป่าเด่นหญ้าขัด โดยสามารถดูนกได้ตลอดเส้นทางที่ขึ้นไปยังหน่วยเด่นหญ้าขัด ที่นี่ยังเป็นสถานที่ค้นพบ นกกินแมลงเด็กแนน (Deignan's Babbler) เพียงแห่งเดียวในโลกเท่านั้นการเดินทาง
จากทางหลวงหมายเลขเชียงใหม่-ฝาง ประมาณ ก.ม. ที่ 71 - 72 จะถึงบ้านแม่นะ ซึ่งจะมีทางแยกซ้ายขึ้นไปผ่านบ้านปางโฮ่ง จนถึงบ้านแม้วสันป่าเกี๊ย ระยะทาง 21 ก.ม. จะเป็นที่ตั้งหน่วยโครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูงหน่วยที่ 1 แม่ตะมาน จากทางแยกบ้านสันป่าเกี๊ยไปทางเหนือมีทางรถไปสู่ดอยเชียงดาวที่เด่นหญ้าขัด จากเด่นหญ้าขัดมีทางเดินเท้าผ่านสันเขา ข้ามเข้าสู่หุบดอยเชียงดาว ควรมาเยือนดอยเชียงดาวในช่วง พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ เพราะจะเป็นช่วงนกย้ายถิ่นลงมากัน
3.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ห้วยขาแข้ง (เขาหินแดง) จังหวัดอุทัยธานี
มีลักษณะป่าหลายชนิด เช่น ป่าเบญจพรรณ และ ป่าเต็งรัง ทำให้สามารถพบนกหัวขวานได้หลายชนิด และนกชนิดอื่นๆรวมกันอีกกว่า 370 ชนิด มีเส้นทางเดินดูนกได้ตามทางเดินศึกษาธรรมชาติ เขาหินแดง เป็นเส้นทางเดินแบบวงรอบระยะทาง 4.5 ก.ม. อยู่ห่างจากที่ทำการ ประมาณ 300 เมตร มีนกที่น่าสนใจได้แก่ นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง (Black-headed Woodpecker) เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว (White-rumped Falcon) นกเงือกคอแดง (Rufous-necked Hornbill) นกยูง (Green Peafowl) นกจาบคาเคราน้ำเงิน (Blue-bearded Bee-eater) นกแว่นสีเทา (Grey Peacock-pheasant)การเดินทางที่ทำการเขตอยู่ห่างจากตัวเมืองอุทัยธานีประมาณ 102 ก.ม. ตามเส้นทางสายอุทัยธานี - หนองฉาง - ลานสัก ทางหลวงหมายเลข 3438 ถึงก.ม.ที่ 53 - 54 เลี้ยวซ้ายเข้าไปตามทางลูกรังประมาณ 14 ก.ม.
4.ชายทะเลบ้านกาหลง จังหวัดสมุทรสาคร
ที่นี่จะมีนกชายเลนอพยพทยอยเข้ามาอาศัยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายนแทบทุกชนิด หาดโคลนที่นี่ยังเป็นที่พบนกหายากของโลก 3 ใน 51 ชนิด ที่ขึ้นบัญชีไว้ใน Red Data Book คือ นกชายเลนปากช้อน (Spoon-billed Sandpiper) นกทะเลขาเขียวลายจุด (Nordmanm's Greenshank) และนกซ่อมทะเลอกแดง (Asian Dowitcher) ที่นี่ยังมีนกอื่นๆได้แก่ นกตีนเทียน (Black-winged stilt) นกอีก๋อยเล็ก (Whimbrel) นกทะเลขาแดงลายจุด (Spotted Redshank) นกชายเลนปากโค้ง (Curlew Sandpiper) นกพลิกหิน (Ruddy Turnstone)การเดินทางตั้งอยู่ในเขต ต.นาโคก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ถ้าขับรถมาจากกรุงเทพใช้ถนนพระรามที่ 2 มาถึง ก.ม. ที่ 51 ผ่านสะพานข้ามคลองสุนัขหอน จะพบทางแยกเข้าทะเลกาหลงจะมีป้ายบอกทางไปวัดกาหลง ให้ขับรถไปตามทางจนถึงวัดกาหลงประมาณ 2 ก.ม. จะมีทางแยกเล็กๆด้านขวามือ ข้ามทางรถไฟจะเห็นนาเกลือ เริ่มต้นดูนกได้จากจุดนี้จนถึงทะเลกาหลง ระยะทางประมาณ 3 ก.ม.
5.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
เ)้นที่รวมของป่าหลากหลายชนิดทำให้เหมาะสมต่อการดำรงค์ชีวิตของนกไม่ต่ำกว่า 320 ชนิดที่พบที่นี่ นกที่น่าสนใจได้แก่ นกอ้ายงั่ว (Oriental Darter) เป็ดก่า (White-winged Duck) ไก่ฟ้าหลังขาว (Silver Pheasant) ไก่ฟ้าพญาลอ (Siamese Fireback) นกแต้วแล้วหูยาว (Eared Pitta) นกกระทาทุ่ง (Chinese Francolin) เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza)การเดินทางจากจังหวัดชัยภูมิใช้ทางหลวงหมายเลข 201 ชัยภูมิ - ชุมแพ อยู่บนเส้นทางที่เข้าเขื่อนจุฬาภรณ์ ทางหลวงหมายเลข 2055 ระหว่าง ก.ม. ที่ 24 -25 ทางด้านซ้ายมือ
6.อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ที่นี่มีนกชุกชมมากกว่า 350 ชนิด เนื่องจากมีสภาพป่าที่หลากหลาย โดยส่วนใหญ่เป็น ป่าดิบแล้ง ป่า เบญจพรรณ ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้า และ ป่าเต็งรัง จุดดูนกที่ดีในเขาใหญ่มีดังนี้ บริเวณรอบๆที่ทำการอุทยาน เส้นทางเดินเท้าหมายเลข 6 (ทางมอสิงโต) บริเวณ ก.ม. ที่ 45 ผากล้วยไม้ บริเวรน้ำตกเหวสุวัต ทางเดินเท้า วังจำปี - หนองผักชี ด่านช้าง และที่บริเวณจุดชมวิวทางลงไปปากช่อง นกที่น่าสนใจและพบบ่อยได้แก่ นกขุนแผนหัวแดง (Red-headed Trogon) นกแต้วแล้วสีน้ำเงิน (Blue Pitta) นกหกเล็กปากแดง (Vernal Hanging Parrot) นกโพระดกคอสีฟ้าเคราดำ (Moustached Barbet) นกกก (Great Hornbill) นกพญาไฟใหญ่ (Scarlet Minivet)
การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 2 สู่ อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา แล้วเลี้ยวขวาระหว่าง ก.ม. ที่ 165 - 166 ขึ้นเขาไปอีก 40 ก.ม. หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 33 นครนายก - อรัญประเทศ ไปประมาณ 21 ก.ม. ถึงสี่แยกเนินหอม จังหวัดปราจีนบุรี เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 3077 ไปอีก
7.ป่าโกงกาง และ ชายทะเลหน้าเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
การดูนกที่นี่ต้องใช้เรือเป็นพาหนะ นกเด่นที่สุดของที่นี่คือ นกฟินฟุท (Masked Finfoot) ช่วงเดือนพฤษภาคม เวลาใกล้ขึ้น 15 ค่ำ หรือ แรม 15 ค่ำ จะเป็นช่วงที่ดี เพราะน้ำจะลงมาก นกต่างๆจะออกมากินกุ้ง หอยตามริมตลิ่ง นกชนิดอื่นที่น่าสนใจได้แก่ นกกระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล (Brown-winged Kingfisher) นกแต้วแล้วป่าโกงกาง (Mangrove Pitta) นกกระเต็นแดง (Ruddy Kingfisher) นกโกงกางหัวโต (Mangrove Whistler)การเดินทางที่หน้าตัวเมืองกระบี่ ติดต่อเรือเพื่อออกไปดูนกได้โดยติดต่อที่ จันทร์เพ็ญทัวร์ 145 ถ.อุตรกิจ จังหวัดกระบี่ 81000
8.ป่าพรุสิรินธร จังหวัดนราธิวาส
เป็นผืนป่าที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษหลายๆด้าน รวมทั้งชนิดของนกที่พบด้วย ปัจจุบันมีการทำทางเดินศึกษาธรรมชาติโดยศูนย์วิจัยและศึกษาป่าพรุสิรินธร ระยะทาง 1200 เมตร เส้นทางนี้เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00 - 16.30 ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือช่วงระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายนนกในป่าพรุที่น่าสนใจได้แก่ นกกางเขนดงหางแดง (Rufous-tailed Shama) นกเค้าแดง (Reddish Scops-Owl) นกขุนแผนท้ายทอยแดง (Red-naped Trogon) นกเขนน้อยปีกดำ (Black-winged Flycatcher-Shrike) นกเปล้าใหญ่ (Large Green Pigeon)การเดินทางจาก อ.สุไหงโก-ลก ใช้ทางหลวงหมายเลข 4057 สุไหงโก-ลก - ตากใบ ประมาณ ก.ม. ที่ 5 เลี้ยวซ้ายตรงแยกชวนะนันท์ เข้าไปอีกประมาณ 5 ก.ม. ตามป้ายบอกทาง
ช่างเป็นภาพที่สวยงาม!
ตอบลบหากคุณต้องการดูรูปนกเพิ่มเติมฉันแชร์บล็อกของฉัน
https://avesdecordobayargentina.blogspot.com